การคัดลอกในโปรแกรม Excel เราสามารถทำได้หลายแบบ ผมขอข้ามแบบธรรมดาไปเลย
1. การคัดลอกแบบดับเบิ้ลคลิ๊ก
ในกรณีที่คอลัมน์ด้านซ้ายมือยาวเท่าไร เลื่อนเมาส์ไปที่มุมขวาล่างของเซลล์ที่ต้องการคัดลอก จนเห็นเป็นเครื่องหมาย + แล้วค่อยดับเบิ้ลคลิ๊ก(ซ้าย) Excel จะคัดลอกไปสุดเท่าที่มี ข้อมูลของคอลัมน์ด้านซ้ายมือ เหมาะสำหรับกรณีที่ข้อมูลมีมาก (หมายเหตุ ไม่รองรับกรณี ชุดข้อมูลเลื่อนเช่นวันที่, เดือน)
2. การคัดลอกแบบ ใช้แป้นคีย์
เลื่อนไปตำแหน่งที่ต้องการคัดลอก กด Ctrl + C แล้วเลื่อนไปตำแหน่งที่ต้องการวาง กด Ctrl + V หรือกด Enter ก็ได้ (สามารถกดเลือกพื้นที่ก่อนได้ Shift ค้างก่อนระบาย, คลิ๊กเมาส์ซ้ายค้างระบาย)
3. การคัดลอกข้อมูลที่อยู่ด้านบน
ถ้าต้องการข้อมูลที่อยู่บน ตำแหน่งที่ต้องการคัดลอก กด Ctrl + D
4. การคัดลอกข้อมูลที่อยู่ด้านซ้าย
ถ้าต้องการข้อมูลที่อยู่ด้านซ้าย ตำแหน่งที่ต้องการคัดลอก กด Ctrl + R
5. การคัดลอกโดยใช้เมาส์1(ซ้าย)
เลื่อนเมาส์ไปขวามือด้านล่าง ให้เมาส์เป็นรูปเครื่องหมายบวก คลิ๊กเมาส์ซ้ายค้างแล้วลากไปด้านล่าง, ขวา, ซ้าย, บน ตามที่ต้องการ แล้วค่อยปล่อย (เหมาะสำหรับข้อมูลไม่มาก)
6. การคัดลอกโดยใช้เมาส์2(ขวา)
เลื่อนเมาส์ไปขวามือด้านล่าง ให้เมาส์เป็นรูปเครื่องหมายบวก กดเมาส์ขวา ค้างก่อนแล้วค่อยลาก ไปในทิศทางที่ต้องการ แล้วค่อยปล่อยโปรแกรมจะขึ้นมาถามวิธีการคัดลอกว่าจะเิติมชุดข้อมูล, หรือคัดลอกเฉย ๆ, ฯลฯ
7. เทคนิคการคัดลอกแบบพิเศษ
กรณี เช่น คอลัมน์ A มีข้อมูลวันที่ ทั้งหมด 10 บรรทัด คอลัมน์ B ต้องการป้อน สาขา “บางนา1” เราสามารถทำการคัดลอกแบบไหนก็ได้ ยกเว้นวิธีที่ 1,3,4,5 เพราะวิธีที่ 1 โปรแกรมจะ Run เป็นสาขา “บางนา2,3,n” ซึ่งไม่ตรงวัตถุประสงค์ (แต่ถ้าข้อมูลเป็น บางนา เฉย ๆ วิธีนี้ Work มากเพราะเร็ว)
แต่ถ้าเปลี่ยนใหม่ ทุกอย่างเหมือนเดิมแต่ข้อมูลเพิ่มเป็น 150 บรรทัด(หรือมากกว่าที่จะมองเห็นใน 1 หน้าจอ) ทำวิธีไหนก็เริ่มช้า ผมมีเทคนิคจะแนะนำดังนี้ ถ้าในกรณีคอลัมน์ด้านซ้ายที่ เราต้องการ จะเติมมีข้อมูลอยู่แล้ว ให้ใช้วิธีที่ 1 แล้ว กด F2 (Edit mode) แล้วกด Ctrl ก่อน ค่อยกด Enter